ที่มาและความสำคัญ

โครงการเครือข่ายการอุดมศึกษาเพื่ออุตสาหกรรม (Hi-FI Consortium) ปัจจุบันมีความร่วมมือจากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่ง ประกอบด้วย จุฬาฯ ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ ม.ขอนแก่น และ มศว. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ คือ  สอวช. และ สวทช. มีรูปแบบดำเนินการแบบเครือข่าย มีเป้าหมายในการผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโทร่วมกับบริษัทเอกชน โดยใช้การฝึกปฏิบัติและทำงานจริงในอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้โจทย์จากอุตสาหกรรมเป็นโจทย์ร่วมวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบการทำงานร่วมกันกับภาคอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างทักษะของนักศึกษาที่จบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมได้  โดยมุ่งหวังให้การผลิตกำลังคนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศเป็นส่วนสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมได้ต่อไป

ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลความสำเร็จส่วนหนึ่งของเครือข่ายฯ จึงได้จัดการประชุมวิชาการเครือข่ายการอุดมศึกษาเพื่ออุตสาหกรรม ประจำปี 2564 ขึ้นเป็นครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2564 

การบรรยายพิเศษ: การร่วมสร้างกำลังคนในอุตสาหกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เอกสารประกอบการบรรยาย
ภาพบรรยากาศ

ประชาสัมพันธ์เปิดรับบริษัทเข้าร่วมโครงการ Hi-FI รุ่นที่ 2

  • ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. (โดย โปรแกรม ITAP)
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เข้าร่วมใหม่ ปี 2564)

การนำเสนอผลงาน

นิสิต/นักศึกษา จำนวน 44 คน นำเสนอ e-Poster & Oral โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  • R&D to Commercialization จำนวน 21 เรื่อง
  • Industry Improvement จำนวน 10 เรื่อง
  • Marketing & Innovation Management จำนวน 7 เรื่อง
  • Digital Transformation for Industry จำนวน 6 เรื่อง
ลำดับการนำเสนอผลงาน และเล่มบทคัดย่อของการประชุมฯ
ภาพบรรยากาศการนำเสนอแบบ Oral& E-poster

ภาพบรรยากาศงาน ณ มหาวิทยาลัยเครือข่าย Hi-FI

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.กรุงเทพ
อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จ.กรุงเทพ

กลุ่มผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ

ลงทะเบียนออนไลน์

119 คน

เข้าร่วมประชุม ณ มหาวิทยาลัย

88 คน

เข้าร่วมผ่าน ZOOM

80 คน

Facebook live

60 บัญชี, 299 ครั้ง

ผู้นำเสนอดีเด่น

ลำดับที่ 1 RDC-04 ปวันรัตน์
ลำดับที่ 2 RDC-02 พัฐชิญาณ์
ลำดับที่ 3 II-03 วิทวัส
ลำดับที่ 1 RDC-06 พลิตา
ลำดับที่ 2 RDC-05 เปรมกมล
ลำดับที่ 3 RDC-10 อุ่นกมล
ลำดับที่ 3 RDC-07 ชนากานต์

วีดิโอการประชุมสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่

Facebook Fanpage: Science4Industry